ศูนย์เอกซเรย์ดิจิทัล 3 มิติ
Dental CT Scan Center

CBCT เป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพรังสีนอกปากวิธีหนึ่ง ซึ่งภาพรังสีนี้จะแสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างที่ต้องการศึกษาได้ในทั้ง 3 ระนาบ และสามารถนําไปสร้างเป็นภาพ 3 มิติ ภาพรังสีจากวิธีนี้จึงมีประโยชน์อย่างมากในการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาในงาน   ทันตกรรมต่างๆ เช่น งานทันตกรรมรากเทียม รักษารากฟัน และศัลยกรรมช่องปาก เป็นต้น

ภาพถ่ายที่ได้จาก CBCT เป็นภาพสามมิติ จึงสามาถสามารถให้รายละเอียดในของขอบเขต รูปร่าง โครงสร้างภายใน และความสัมพันธ์กับโครงสร้างรอบข้างได้ดีกว่าภาพรังสีสองมิติ โดยไม่มีการซ้อนทับกันของโครงสร้างต่างๆ ในทุกระนาบที่ต้องการ

ปริมาณรังสีจาก CBCT จะต่ำกว่า medical CT โดยหลักการทำงาน คือ มีการหมุนของรังสีเอ็กซ์รอบศีรษะ ขนาดบริเวณของภาพสามารถกำหนดได้ ภาพรังสีโคนบีมซีทีเกิดจากการถ่ายภาพ รังสีโดยรอบศีรษะผู้ป่วย 1 รอบ (194-360 องศาใน ขณะถ่ายภาพรังสีแหล่งกําเนิดรังสีและตัวรับหรือตัวตรวจ หาจะหมุนรอบศีรษะผู้ป่วยพร้อมกัน ในระหว่าง ที่ มีการหมุนตัวรับหรือตัวตรวจหาจะรับรังสีที่ผ่านจาก ศีรษะผู้ป่วยและส่งสัญญาณในรูปข้อมูลทางอิเลกทรอนิกส์ ไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลและแสดงข้อมูลโดย ปรากฏเป็นภาพรังสีในระบบดิจิทัลซึ่งสามารถจัดการภาพ ได้โดยอาศัยโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการนําข้อมูลที่ได้มา สร้างเป็นภาพใน 3 ระนาบ ได้แก่ ระนาบตามแกน (axial plane) ระนาบแบ่งซ้ายขวา (sagittal plane) และระนาบ แบ่งหน้าหลัง (coronal plane)

ข้อดีของCBCT

1. คุณภาพของรูปดีกว่าและความแม่นยำในการวินิจฉัยที่ดีกว่า

ทันตแพทย์สามารถอมองเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่องปากคนไข้ จากอีกมุมองนึงซึ่งช่วยให้การประเมินและวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำมากขึ้น

2. สามารถมองเห็นส่วนเนื้อเยื่อกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนได้ สามารถมองเห็นรายละเอียดที่มากขึ้น เมื่อเทียบกับภาพเอกซเรย์สองมิติ ช่วยให้การวางแผนรักษามีความแม่นยำมากขึ้น

3. ปริมาณรังสีต่ำ เมื่อเทียบกับ CT scan แล้ว ปริมาณรังสีที่คนไข้จะได้รับจาก CBCT scan จะต่ำกว่า

4. ระยะเวลาในการถ่ายเร็วและไม่เจ็บ

เอกซเรย์ในทางทันตกรรมมีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. เอกซเรย์ภายในช่องปาก
    จะเป็นฟิล์มขนาดเล็ก ใช้เอกซเรย์เพื่อดูพยาธิสภาพเฉพาะซี่ฟันนั้นๆ
    unnamed
  2. เอกซเรย์ภายนอกช่องปาก
    โดยส่วนใหญ่จะใช้ในงานทันตกรรมจัดฟัน แบ่งเป็น
  1. พาโนรามิก(Panoramic) เอกซเรย์ จะใช้เพื่อดูฟัน จำนวนฟัน และพยาธิสภาพในขา กรรไกรทั้งหมดunnamed-2
  2. เซฟาโลเมตริก(Cephalometric) เอกซเรย์ จะใช้เพื่อคำนวณมุมต่างๆ ในการวิเคราะห์ ทางทันตกรรมจัดฟันunnamed-3
  • เอกซเรย์ 3 มิติ (CT-scan)
    โดยส่วนใหญ่จะใช้ในงานรากฟันเทียม เพราะสามารถบอกความหนาของกระดูกในบริเวณที่จะฝังรากเทียมว่ามีเพียงพอหรือ ต้องทำการปลูกกระดูกร่วมด้วย อีกทั้งยังใช้วางแผนการรักษาด้วยคอมพิวเตอร์ก่อนการผ่าตัดได้อีกด้วย
    unnamed-1