รักษารากฟันย่านรังสิตกับอาจารย์ทันตแพทย์จากจุฬาฯ มหิดล
การรักษารากฟันคืออะไร?
การรักษารากฟัน คือการรักษาฟันที่ผุลึกทะลุโพรงประสาทฟัน ซึ่งส่วนใหญ่คนไข้มักจะมีอาการเสียวฟันหรือปวดฟันขั้นตอนคือกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่มีการอักเสบ ติดเชื้อ หรือตายออกไป เพื่อบรรเทาอาการปวด จากนั้นจะอุดปิดคลองรากฟันด้วยวัสดุพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าไปในคลองรากฟันได้อีก โดยฟันที่ได้รับการรักษารากฟันอักเสบ ควรจะต้องได้รับการทำเดือยฟันและครอบฟันด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันซี่นี้แตกในระยะเวลาอันสั้น เนื่องจากฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน มักจะเหลือเนื้อฟันน้อย ซึ่งเกิดจากการที่มีขนาดของรอยผุที่ใหญ่ รวมทั้งในกระบวนการรักษาคลองรากฟันที่เอาเนื้อเยื่อเส้นประสาทออกไปเพื่อไม่ให้ปวดฟันหรือเสียวฟันก็ทำให้ฟันเปราะกว่าปกติ
ทำไมต้องรักษารากฟันกับ SWC Dental?
สำหรับใครที่สนใจอยากเข้ารับการรักษารากฟัน โดยเฉพาะในย่านรังสิต ปทุมธานี ดอนเมือง ลำลูกกา และคลองหลวง ขอแนะนำคลินิกทันตแพทย์สว่าง คลินิกทันตกรรมชั้นนำที่ทันสมัยเป็นอันดับ 1 ในย่านรังสิต เชื่อถือได้ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี ให้คำปรึกษาและการรักษาโดยทีมอาจารย์ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษารากฟัน จากจุฬาฯ และมหิดลด้วยเครื่องมือโรตารี่ นวัตกรรมทันตกรรมรักษารากฟันอันทันสมัย นอกจากจะเป็นคลินิกรักษารากฟันชั้นนำในรังสิต ดอนเมือง และ ปทุมธานีแล้ว อาจารย์ทันตแพทย์ของเรา ยังเชี่ยวชาญทุกเรื่องด้านทันตกรรมและการรักษาโรคในช่องปาก พร้อมเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ได้มาตรฐานระดับสากลจึงมั่นใจได้เลยว่าฟันของคุณได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ด้วยการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพสูงสุด โดยคำนึงถึงความสะอาดปลอดภัย และความพึงพอใจของคนไข้เป็นสำคัญ เดินทางสะดวกสำหรับผู้ที่อยู่ในย่าน รังสิต ปทุมธานี ดอนเมือง ลำลูกกา คลองหลวง
สาเหตุของปัญหา
- ฟันผุลึกที่ไม่ได้รับการรักษา ทำให้เชื้อแบคทีเรียลุกลามเข้าไปข้างในโพรงประสาทฟัน จนนำไปสู่อาการปวดฟันหรือเสียวฟัน
- วัสดุอุดมีขนาดใหญ่และลึกมาก เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ต้องรักษารากฟันเช่นเดียวกัน
- ฟันได้รับอุบัติเหตุ เช่น จากการเล่นกีฬา ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานอาจเป็นอันตรายต่อโพรงประสาทฟันได้
- ฟันร้าว
- ฟันแตก
ขั้นตอนการรักษา
การรักษารากฟันจะใช้ระยะเวลาที่มาพบทันตแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการประมาณ 1-3 ครั้ง เนื่องจากฟันที่ต้องได้รับการรักษารากฟันนั้นส่วนใหญ่จะมีความแข็งแรงน้อยลง เนื่องจากการสูญเสียเนื้อฟันไปมากจากฟันผุ ดังนั้นการทำเดือยฟันและครอบฟันจึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติเดิม ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันสามารถอยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาความสะอาด และการใช้งานของคนไข้
การรักษารากฟันเป็นขั้นตอนทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำส่วนของเนื้อฟันที่ติดเชื้อหรือเสียหายออกไป และทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่ในคลองรากฟัน จากนั้นจะทำการอุดด้วยวัสดุเพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่มเติม ด้วยเหตุนี้การรักษารากฟันให้เสร็จสิ้นมักต้องมีการนัดหมายกับทันตแพทย์หลายครั้ง เพื่อติดตามผลและให้เป็นไปตามกระบวนการรักษา
1. การนัดหมายครั้งแรก
หลังจากที่ทันตแพทย์ตรวจดูสภาพฟัน ทำการเอ็กซเรย์เพื่อพิจารณาความเสียหายของเนื้อฟัน และได้ลงความเห็นว่า สมควรที่จะรักษารากฟัน ทันตแพทย์ก็จะทำการเปิดโพรงประสาทฟันเพื่อกำจัดเนื้อฟัน และเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟัน ที่ติดเชื้อออกไป จากนั้นจะทำความสะอาดคลองรากฟัน และใส่ยาลงในคลองรากฟัน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ และป้องกันการกลับมาติดเชื้อซ้ำอีกครั้ง
2. การนัดหมายครั้งที่สอง
ทันตแพทย์จะทำการอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุคล้ายยางที่เรียกว่า ‘gutta-percha’ โดยวัสดุนี้จะใช้สำหรับปิดคลองรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้ามา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มเติม โดยทันตแพทย์จะทำการอุดฟันชั่วคราวเพื่อป้องกันฟันจนกว่าจะถึงกำหนดการนัดหมายครั้งต่อไป เนื่องจากฟันซี่ดังกล่าวต้องได้รับการบูรณะโดยวัสดุอุดถาวร หรือการใส่เดือยฟันและครอบฟัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่
3. การนัดหมายครั้งที่สาม
สำหรับการนัดหมายครั้งนี้ จุดประสงค์คือเพื่อใส่เดือยฟันซึ่งใช้ทดแทนส่วนของฟันที่ถูกทำลายไปจากฟันผุ แล้วค่อยกรอแต่งฟันสำหรับทำครอบฟันถาวร แล้วส่งแล็บไปทำชิ้นครอบฟันถาวร
4. การนัดหมายครั้งที่สี่
สำหรับการนัดหมายครั้งที่สี่ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย ทันตแพทย์จะเอาวัสดุอุดชั่วคราวออกและแทนที่ด้วยวัสดุอุดถาวรหรือที่เรียกว่าครอบฟัน สิ่งนี้จะช่วยปกป้องฟันและป้องกันไม่ให้ฟันแตกหรือร้าว เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ อย่างไรก็ตามทันตแพทย์อาจแนะนำให้นัดติดตามผลเพื่อให้แน่ใจว่าฟันที่รักษาไปสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ถึงแม้ว่าการรักษารากฟันให้เสร็จสิ้นต้องผ่านกระบวนการนัดหมายหลายครั้ง แต่ถ้าเทียบกับประโยชน์ระยะยาวของการรักษาฟันถือว่าคุ้มค่า เนื่องจากเป็นการยืดอายุให้ฟันธรรมชาติอยู่คู่กับช่องปากและสามารถใช้งานไปได้อีกยาวนาน
ทั้งนี้ทั้งนั้น คนไข้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหรือใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารที่มีความแข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว กระดูก เพราะจะทำให้เกิดฟันร้าวหรือฟันแตกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันนั้น จะไม่ได้แข็งแรงเท่ากับฟันธรรมชาติซี่อื่น ๆ เนื่องจากเนื้อฟันที่เหลือน้อยกว่า
การรักษารากฟัน แบ่งเป็นกี่ประเภท?
- การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ: เป็นการรักษาด้วยการนำเอาส่วนที่ติดเชื้อในคลองรากฟันออก แล้วทำความสะอาด และอุดปิด เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปได้อีก
- การรักษารากฟันด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน: เป็นการผ่าตัดที่ปลายรากฟัน โดยการใช้กล้อง Microscope ตัดส่วนปลายรากออก
ข้อปฎิบัติหลังการรักษาคลองรากฟัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทานหรือใช้ฟันบดเคี้ยวอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว กระดูก
- รีบมาพบทันตแพทย์ทันทีเมื่อวัสดุอุดชั่วคราวหลุด
- มาตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อป้องกันโอกาสที่จะต้องถอนฟันระหว่างการรักษารากฟัน
ต้องการติดต่อเพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษารากฟันอักเสบเบื้องต้นและนัดหมายเพื่อเข้าพบทันตแพทย์ หรือสอบถามราคาค่ารักษาและรายละเอียดในด้านอื่นเพิ่มเติม สามารถแอดไลน์ @swcdental (มี @ ด้วย) หรือ โทร. 064-465-0565 ได้ทันที เปิดบริการทุกวัน เวลา 9.00-20.00 น.